วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

     กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (Bangkok Thailand)

        กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี โดยกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตร


มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่าห้าล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (primate city) จัด และศูนย์ชุมชนอื่นของประเทศไทยด้อยความสำคัญลง มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น "เอกนครที่สุดในโลก" เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองถึงสี่สิบเท่า


จัดกรุงเทพมหานครว่าเป็นนครโลกระดับแอลฟาลบ กรุงเทพมหานครยังเป็นเมืองที่มีตึกระฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 9 ของโลก มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆ และวัดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีแหล่งชอปปิ้งและค้าขายที่สำคัญมากมาย ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติมากมาย โดยในปี พ.ศ. 2555 องค์กรการท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ได้จัดอันดับกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีคนเดินทางเข้า เป็นอันดับที่ 10 ของโลก และเป็นอันดับที่ 2 ของเอเซีย



โดยมีคนเดินทางมากกว่า 26.5 ล้านคน นอกจากนี้จากการจัดอันดับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ด ประจำปี พ.ศ. 2557 กรุงเทพมหานคร มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของนักท่องเที่ยวถึง 16.42 ล้านดอลลาร์ เป็นอันดับที่สองของโลก รองจากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรเท่านั้น[9]
กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด คำว่า กรุงเทพมหานคร นั้นยังใช้เรียกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย กรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง แต่ ปัจจุบันผู้บริหารกรุงเทพมหานครมาจากการแต่งตั้ง

ในสมัยอาณาจักรอยุธยา กรุงเทพมหานครยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมา มีขนาดเพิ่มขึ้นและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงสองแห่ง คือ กรุงธนบุรีในปี พ.ศ. 2311 และกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2325 กรุงเทพมหานครเป็นหัวใจของการทำให้ประเทศสยามทันสมัย และเป็นเวทีกลางของการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 นครเติบโตอย่างรวดเร็วและปัจจุบันมีผลกระทบสำคัญต่อการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สื่อและสังคมสมัยใหม่ของไทย ในช่วงที่การลงทุนในเอเชียรุ่งเรือง ทำให้บรรษัทข้ามชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคในกรุงเทพมหานคร ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นกำลังหลักทางการเงินและธุรกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งและสาธารณสุขระหว่างประเทศ


และกำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางศิลปะ แฟชันและการบันเทิงในภูมิภาค อย่างไรก็ดี การเติบโตอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครขาดการวางผังเมือง ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ถนนที่จำกัดและการใช้รถส่วนบุคคลอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรแออัดเรื้อรัง


ที่มาของคำว่า "บางกอก" นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจากวัดอรุณ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก


สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

    สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)

           ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong


ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน


หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1819 โดยเซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Stamford Raffles) เป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกโดยการอนุญาตจากรัฐสุลต่านยะฮอร์ อังกฤษได้อธิปไตยเหนือเกาะใน ค.ศ. 1824 และสิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในนิคมช่องแคบอังกฤษใน ค.ศ. 1826 


หลังถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1963 และเข้าร่วมกับอดีตดินแดนของอังกฤษอื่นเพื่อตั้งประเทศมาเลเซีย แต่ถูกขับอีกสองปีต่อมาผ่านพระราชบัญญัติโดยเอกฉันท์ นับแต่นั้น ประเทศสิงคโปร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว จนได้รับการรับรองว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย

ประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางพาณิชย์สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง โดยเป็นศูนย์กลางการเงินใหญ่สุดเป็นอันดับสี่และเป็นหนึ่งในห้าท่าที่วุ่นวายที่สุด เศรษฐกิจซึ่งเป็นโลกาภิวัฒน์และมีความหลากหลายอาศัยการค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิต ซึ่งคิดเป็นประมาณ 30% ของจีดีพีของสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2556 ในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ 


ประเทศสิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับสามของโลกแต่มีความเหลื่อมล้ำของรายได้รุนแรงที่สุดในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับสูงในแง่การศึกษา สาธารณสุขและความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 มีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์เกือบ 5.5 ล้านคน ซึ่งกว่า 2 ล้านคนมีสัญชาติต่างชาติ แม้สิงคโปร์จะมีความหลากหลาย แต่เชื้อชาติเอเชียมีมากที่สุด 75% ของประชากรเป็นชาวจีน โดยมีชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ เช่น ชาวมาเลย์ ชาวอินเดียและชาวยูเรเซีย มีภาษาราชการสี่ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนกลางและภาษาทมิฬ และประเทศสนับสนุนพหุวัฒนธรรมนิยมผ่านนโยบายทางการต่าง ๆอีกด้วย

คาร์ทาเกน่า ประเทศโคลัมเบีย

       คาร์ทาเกน่า ประเทศโคลัมเบีย (Cartagena Colombia)

          การ์ตาเฮนา (สเปนCartagena) หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า การ์ตาเฮนาเดอินเดียส (Cartagena de Indias) เป็นเมืองท่าใหญ่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของประเทศโคลอมเบียและเป็นเมืองหลักของจังหวัดโบลิบาร์ ในปี ค.ศ. 2005 มีประชากรประมาณ 895,400 คน


 โคลอมเบีย เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ถือเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในอเมริกาใต้ สิ่งที่เป็นภาพลักษณ์ในด้านลบของประเทศนี้ก็คือ สงครามกลางเมืองในโคลอมเบีย ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อ และยังมีประเด็นความขัดแย้งเรื่องยาเสพย์ติดและการคอรัปชั่นอีกด้วย แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม อีกด้านหนึ่งโคลัมเบียเป็นประเทศที่มีเสน่ห์ 


ทั้งรากฐานทางศิลปวัฒนธรรม และมีธรรมชาติที่สวยงามรอต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยที่นี่เป็นประเทศเดียวในอเมริกาใต้ที่มีชายฝั่งติดทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ และทะเลคาริบเบียน นอกจากนี้ ยังมีหุบเขาที่ใช้ปลูกกาแฟ อาคารบ้านเรือน เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่มีสีฉูดฉาดของผู้คน และแม้ประเทศโคลอมเบียจะอยู่ห่างไกลกับเมืองไทยชนิดคนละซีกโลก 


แต่ก็ยังมีคนไทยอยู่อาศัยอยู่ที่นี่ โดยที่นี่นั้นมีค่าครองชีพไม่สูงมาก คือค่าอาหรมือหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 130 บาท ค่าน้ำขวดละ 25 บาท ไข่ไก่โหลละ 60 บาท ค่าขนส่งสาธารณะท้องถิ่นก็อยู่ที่เที่ยวละประมาณ 28 บาทเท่านั้น


 ย่านประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ แคนเดอลาเรีย ใจกลางกรุงโบโกตาซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ โดยกรุงโบกาตาเจริญเติบโตมาจากจุดๆนี้  ถนนแถบนี้จะปูด้วยก้อนหิน และมีอาคารบ้านเรือนที่เก่าแก่นับร้อยปี รวมไปถึงโบสถ์อายุกว่า 400 ปี ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับตึกสูงระฟ้าสไตล์โมเดิร์นที่เพิ่งก่อสร้างขึ้น

เบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน

 เบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน (Berlin Germany)

         เบอร์ลิน (เยอรมันBerlin แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 5 ล้านคนจาก 180 ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป


เบอร์ลินเป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่มีอิทธิพลที่สุดของยุโรป ในด้านการเมือง วัฒนธรรม สื่อสารมวลชน และวิทยาการ เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของการคมนาคมทางอากาศและทางรางของทวีป พื้นฐานเศรษฐกิจของเมืองคือธุรกิจบริการอันหลากหลาย ซึ่งประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมการสร้างสรรค์ บริษัทด้านสื่อ การบรีการสิ่งแวดล้อม ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า


เบอร์ลินเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับสามของยุโรป อุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึง วิศวกรรมจราจร ออปโตอิเล็กทรอนิกส์ ไอที อุตสาหกรรมยานยนต์ สุขภาพ วิศวกรรมชีวการแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพ
มหานครแห่งนี้เป็นบ้านของมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย การแข่งขันกีฬา ออร์เคสตรา พิพิธภัณฑ์ และบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลกจำนวนมากภูมิทัศน์นครและมรดกทางประวัติศาสตร์ของเบอร์ลินทำให้มันนิยมถูกใช้เป็นฉากสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์


นครแห่งนี้มีชื่อเสียงในเรื่องเทศกาล สถาปัตยกรรมที่หลากหลาย ศิลปะร่วมสมัย ศิลปะแนวทดลอง (อาวองการ์ด) ชีวิตกลางคืน และคุณภาพชีวิต ในระหว่างทศวรรษที่ผ่านมาเบอร์ลินได้วิวัฒน์ไปสู่จุดรวมของปัจเจกชนและศิลปินหนุ่มสาวมากมายหลากหลายชาติจากทั่วโลก ที่ถูกดึงดูดด้วยวิถีชีวิตแบบเสรีและจิตวิญญาณแห่งกาลเวลาสมัยใหม่ (modern zeitgeist)


เบอร์ลินตั้งอยู่บนแม่น้ำสปรีและฮาเฟลทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี ห้อมล้อมด้วยรัฐบรานเดนบวร์ก มีพื้นที่ 891.75 ตารางกิโลเมตร ในสมัยก่อน เบอร์ลินเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรานเดนบวร์กก่อนจะแยกการปกครองออกเป็นนครรัฐต่างหากรัฐหนึ่ง
ชื่อ Berlin ซึ่งออกเสียงในภาษาอังกฤษว่า /bɚˈlɪn/ และในภาษาเยอรมันว่า/bɛɐˈliːn/  นั้นไม่ทราบแหล่งที่มา แต่อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยคำภาษาโปลาเบียนเก่า berl-/birl- ซึ่งหมายถึง "หนองน้ำ"

สงครามสามสิบปีระหว่าง ค.ศ. 1618 และ 1648 ทำให้เบอร์ลินได้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวง บ้านเรือนหนึ่งในสามเสียหาย และประชากรลดเหลือครึ่งเดียว[20] เฟรเดอริก วิลเลียม “เจ้าชายผู้ยิ่งใหญ่” ซึ่งสืบอำนาจเป็นผู้ปกครองต่อจาก จอร์จ วิลเลียม ผู้บิดาใน ค.ศ. 1640 ได้ริเริ่มนโยบายส่งเสริมการอพยพย้ายถิ่นและเสรีภาพในการนับถือศาสนา ด้วยกฤษฎีกาแห่งพอทสดัม (Edict of Potsdam) ใน ค.ศ. 1685 เฟรเดอริกได้เสนอที่ลี้ภัยให้กับพวกฮิวเกอโนต์ซึ่งเป็นพวกโปรเตสแตนท์ชาวฝรั่งเศส ฮิวเกอโนต์มากกว่า 15,000 คนได้มายังบรานเดนบวร์ก ในจำนวนนั้น 6,000 คนตั้งถิ่นฐานในเบอร์ลิน ใน ค.ศ. 1700 ประมาณร้อยละยี่สิบของผู้อยู่อาศัยในเบอร์ลินเป็นชาวฝรั่งเศส และอิทธิพลทางวัฒนธรรมของพวกเขาแก่เมืองนั้นมีมหาศาล ผู้อพยพอื่น ๆ จำนวนมากมาจากโบฮีเมีย โปแลนด์ และซาลซ์บูร์ก


เมืองใหญ่ ๆ ในเยอรมัน จะอยู่กระจายกันทั่วทั้งประเทศ และแต่ละเมืองจะมีความสำคัญเท่า ๆ กัน และมีความโดดเด่นไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมสำหรับตอนที่ 1 จะพาไปรู้จักกับเมืองหลวงของประเทศ ซึ่งอยู่ทางตอนบนของประเทศ นั่นคือ กรุงเบอร์ลิน ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และเป็นศูนย์กลางของทางวัฒนธรรม, การเมือง, บันเทิง และวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจภายในเบอร์ลินนั้นขึ้นอยู่กับในส่วนของการบริการ และอุตสาหกรรมทางด้านสื่อต่าง ๆ นอกจากนี้เบอร์ลินยังเป็นศูนย์กลางของการเดินทางโดยรถไฟ และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก




โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

    โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (Tokyo Japan)
         
          โตเกียว (ญี่ปุ่น東京 โทเกียว ?) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า มหานครโตเกียว (東京都( โทเกียว-โตะ )?; Tokyo Metropolis) เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน


ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง จำนวนประชากรทั้งหมดของโตเกียว มีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ


โตเกียวแต่เดิมเป็นหมู่บ้านประมงเล็ก ๆ ที่ชื่อเอะโดะ ต่อมาใน ค.ศ. 1457 ปราสาทเอะโดะได้ถูกสร้างขึ้น และต่อมาในปีทศทรรษที่ 1590 เป็นยุคที่ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้เริ่มปราบหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งภายหลังจากปราบหัวเมืองต่าง ๆ ลงได้อย่างราบคาบแล้ว ใน ค.ศ. 1603 เขาได้สถาปนารัฐบาลโชกุนขึ้นปกครองประเทศ โดยมีเอะโดะเป็นที่ตั้งของ บะกุฟุ (แปลตรงตัว: ค่ายทหาร, พฤตินัย: ทำเนียบรัฐบาล) และสถาปนาตนขึ้นเป็นโชกุน เมืองเอะโดะจึงได้กลายเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลทหารของเขาซึ่งมีอำนาจปกครองทั้งประเทศ ในช่วงเวลาต่อมาในยุคเอะโดะ


 เมืองเอะโดะก็ขยายตัวขึ้นจนกลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่น[10] แม้ว่าองค์จักรพรรดิประทับอยู่ในนครหลวงเฮอังเกียว (เคียวโตะ)


หลังจากนั้นประมาณ 263 ปี ระบอบปกครองภายใต้โชกุนถูกล้มล้างโดยการปฏิรูปเมจิ อำนาจการปกครองจึงกลับคืนมาสู่จักรพรรดิอีกครั้ง ใน ค.ศ. 1869 จักรพรรดิเมจิทรงย้ายเมืองหลวงมาที่เอะโดะและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นโตเกียว โตเกียวจึงกลายเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและวัฒนธรรมของประเทศ[11] และการที่จักรพรรดิทรงย้ายมาประทับจึงทำให้โตเกียวกลายเป็นเมืองหลวงอย่างเต็มตัว และปราสาทเอะโดะเปลี่ยนเป็นพระราชวังหลวง



ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส

     ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส (Lisbon Portugal)
          
        ลิสบอน (อังกฤษLisbon) หรือ ลิชบัว (โปรตุเกสLisboaออกเสียง: [liʒˈboɐ]) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศโปรตุเกส ตัวเมืองลิสบอนมีประชากร 564,657 คน[1] ถ้ารวมเขตที่อยู่อาศัยโดยรอบด้วยจะมีประชากรประมาณ 2,760,723 คน (ข้อมูลปี 2005)


ลิสบอนตั้งอยู่ทิศตะวันตกของประเทศ ริมชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของคาบสมุทรไอบีเรีย การที่ลิสบอนตั้งอยู่ทางใต้ของทวีปยุโรปและติดกับมหาสมุทร จึงได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำกัลฟ์สตรีม ทำให้ลิสบอนเป็นเมืองหลวงที่มีภูมิอากาศอบอุ่นที่สุดในยุโรป


ลิสบอนมีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ช่วงหนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสตกาล เคยอยู่ใต้ปกครองของกรีกโบราณและโรมัน ลิสบอนได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์เช่นเดียวกับเมืองที่อยู่ใต้ปกครองของโรมัน แต่เมื่อ ค.ศ. 711 ลิสบอนถูกครอบครองโดยเผ่ามัวร์ ซึ่งอาศัยอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา และนับถือศาสนาอิสลาม ในช่วงนั้นชาวลิสบอนใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ

ค.ศ. 1147 ลิสบอนกลับมาอยู่ภายใต้ศาสนาคริสต์อีกครั้ง โดยกลุ่มนักรบจากประเทศใกล้เคียง เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ และโปรตุเกส ภายใต้การนำของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 1 แห่งโปรตุเกส ได้ยึดลิสบอนกลับคืนได้ ลิสบอนเปลี่ยนมาใช้ภาษาโปรตุเกส และชาวอิสลามส่วนมากเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ ลิสบอนกลายเป็นเมืองหลวงของโปรตุเกสเมื่อ ค.ศ. 1255


ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของจักรวรรดิโปรตุเกส ลิสบอนเป็นศูนย์กลางของยุโรปในการเดินทางไปยังตะวันออกไกล ลิสบอนมาเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 1755 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตประมาณ 60,000-90,000 คน
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ลิสบอนถูกรุกรานโดยกองทัพของนโปเลียน โบนาปาร์ต ทำให้สิ่งก่อสร้างเสียหายเป็นจำนวนมาก ใน ค.ศ. 1910 ลิสบอนเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โปรตุเกสเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐ สำหรับช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น โปรตุเกสวางตัวเป็นกลาง ทำให้ลิสบอนกลายเป็นเมืองท่าสำคัญของยุโรปฝั่งแอตแลนติก


ลิสบอนมีประเพณีการเล่นกีฬามายาวนาน เมืองแห่งนี้ยังได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาหลายนัด ซึ่งรวมถึงการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 รอบสุดท้าย และได้เป็นเจ้าภาพรอบสุดท้ายของกรีฑาในร่มชิงแชมป์โลก 2001 และฟันดาบสากลชิงแชมป์ยุโรป ใน ค.ศ. 1983 และ 1992 ตลอดจนแฮนด์บอลชิงแชมป์โลก 2003 และยูโดชิงแชมป์ยุโรป 2008 ตั้งแต่ ค.ศ. 2006 ถึง 2008 กรุงลิสบอนยังเป็นจุดเริ่มต้นการแข่งขันดาการ์แรลลี และเมืองแห่งนี้ จะเป็นเจ้าภาพยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2014